จะอยู่หรือจะไป? เมื่อ WeWork เผชิญสถานการณ์กลืนไม่เข้า..คายไม่ออก
มาแรงๆ กับใต้เตียง WeWork สตาร์ทอัพยูนิคอร์นอันดับ 4 ของโลก จะข่าวดีหรือข่าวร้าย วันนี้มาอัพเดทให้แล้วนะจ๊ะ เดิมบริษัทนี้มีมูลค่าสูงถึง 1.5 ล้านล้านบาท แต่แต่แต่…ผลประกอบการกลับขาดทุนถึงชั่วโมงละ 6.7 ล้านบาท ความน่ากังวลของนักลงทุนต่อ WeWork นั้นมีอะไรบ้าง?
- รูปแบบธุรกิจ Co-Working Space ต้องเช่าพื้นที่ระยะยาว แต่ธุรกิจสตาร์ทอัพส่วนใหญ่จะเช่าพื้นที่แค่ระยะสั้น ดังนั้นช่วงเศรษฐกิจถดถอยจะทำให้ขาดทุนมาก
- เอาแน่เอานอนกับประเภทของธุรกิจสตาร์ทอัพไม่ได้ เพราะธุรกิจ WeWork นั้นคลุมเครือว่าจะเป็นสายเทคโนโลยีหรืออสังหาริมทรัพย์ ซึ่งส่งผลต่อความไม่มั่นใจของนักลงทุน
- นิสัยแสนเพลย์บอย รักสนุกของ อดัม นอยมันน์ CEO แห่ง WeWork ผู้มีสาวๆ รุมล้อมมากมาย ส่งผลต่อภาพลักษณ์องค์กรทำให้เกิดความไม่น่าเชื่อถือ
WeWork สตาร์ทอัพที่เติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อมาย้อนดูงบการเงินของบริษัทล่าสุดปี 2018 ที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้ 57,400 ล้านบาท แต่กลับขาดทุน 60,600 ล้านบาท แม้ว่านอยมันน์ จะทำยอดขายได้เพิ่มขึ้นจากช่วงที่ผ่านมา กลับกันก็ไม่ได้ทำกำไรให้เลย เนื่องจากบริษัทมีอัตราการเผาเงินสูง (Cash burn rate) ซึ่งมีมากถึง 1 แสนล้านบาทภายใน 3 ปี จากการใช้เงินทุนในการทำสงครามราคาในตลาดสูง จึงขาดทุนต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน แต่ทำไมมูลค่าบริษัทกลับมีสูงมากเกินความเป็นจริง?
เนื่องจากมูลค่ากิจการ WeWork ต่ำกว่าคาด ทำให้ทางด้าน SoftBank ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ โดยถือมากถึง 29% กดดันให้ WeWork ยกเลิกการนำบริษัทเข้า IPO ในตลาดหลักทรัพย์ สถานการณ์ของ WeWork ในตอนนี้จึงกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ตกที่นั่งลำบาก เมื่อนักลงทุนต่างสงสัยว่า ทำไมบริษัทซึ่งกำลังเติบโตมีมูลค่าสูงทั้งๆ ที่ขาดทุนถึงชั่วโมงละ 6.7 ล้านบาท นักลงทุนต่างมองว่ามูลค่านั้นเยอะเกินความเป็นจริงหรือป่าว? แล้วทำไมบริษัทต้องเข้ามาในตลาดหุ้น? งบการเงินที่กำลังขาดทุน สามารถเชื่อได้จริง? จึงคาดว่านักลงทุนส่วนมากจะไม่สนใจลงทุนกับ WeWork ซึ่งความไม่มั่นใจของนักลงทุนสามารถสรุปได้ดังนี้
- โครงสร้างบริษัทที่ซับซ้อน ผู้ถือหุ้นต้องการประหยัดทางด้านภาษี
- อดัม นอยมันน์ CEO ของ WeWork ได้นำอสังหาริมทรัพย์ของตัวเองมาให้ WeWork เช่าต่อ
- สิทธิในการโหวตของนอยมันน์ที่มากกว่า ผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง SoftBank และผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ
- การขายหุ้น WeWork ของนอยมันน์ ในช่วงขั้นตอน IPO ทำให้นักลงทุนเกิดข้อสงสัย
- สภาวะตลาดขาลง จากสงครามทางการค้าจีน-สหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มตลาดปิดแดนลบ นักลงทุนจึงต้องกระจายความเสี่ยงสินทรัพย์ไปยังทางเลือกอื่น
- ความไม่เชื่อมันของโมเดลธุรกิจ WeWork
นอกจากนี้ JPMorgan Chase & Co. และ Goldman Sachs Group Inc. ใจปล้ำวางเงินลงทุนเพิ่มขึ้นถึง 14 หมื่นล้านบาท แต่ผู้ลงทุนทั้ง 2 ฝ่ายต่างกังวลถึงการทำ IPO เนื่องจากการประเมินมูลค่าบริษัทไม่ถึง 5 แสนล้านบาท ซึ่งถ้าหาก WeWork ไม่ได้เข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว อาจทำให้เป้าหมายการขยายธุรกิจจากการระดมทุนอาจล้มลงทันที…
เพื่อนๆ คงเคยได้ยินข่าวการเข้าตลาดหุ้นของ Uber หลังจาก IPO ไป 1 วัน เดิม Uber มีมูลค่ากิจการจากการเพิ่มทุนสูง แต่บริษัทยังขาดทุนจากการดำเนินงาน เมื่อย้อนดูงบปี 2018 แม้จะมีกำไร ธุรกิจหลักก็ยังขาดทุนอยู่ ราคาหุ้นตกตั้งแต่วันแรก มูลค่าบริษัทจึงลดลงด้วย พร้อมทั้งการเผชิญกับสภาวะตลาดที่ย่ำแย่ บทเรียนนี้มันเจ็บแล้วจำ… นักลงทุนจึงตระหนักถึงความเสี่ยงของมูลค่าหลักทรัพย์ที่เกินมูลค่าที่แท้จริงไปมาก
จับตามอง WeWork IPO หลุมพรางกับดัก “ทฤษฎีคนที่โง่กว่า” (Greater fool Theory)
จากการยื่น IPO ซึ่งเป็นการเสนอขายหุ้นครั้งแรก ถ้าหากนักลงทุนซื้อสินทรัพย์เพราะเชื่อว่าราคาจะขึ้นไปเรื่อยๆ เพื่อกอบโกยกำไร โดยไม่คำนึงว่าราคาที่ซื้อขายนั้นได้เกินมูลค่าที่แท้จริงไปมาก โดยนักเก็งกำไรหวังว่าจะมีคนที่ช้าและโง่กว่า มาซื้อสินทรัพย์ไปในราคาที่สูงกว่า เหตุการณ์นี้เปรียบเสมือนฟองสบู่ที่ถูกอัดลมเข้าไปมากแล้วเดี๋ยวก็แตกนั้นเอง ดังนั้นสถานการณ์กลืนไม่เข้า คายไม่ออกของ WeWork ที่โดนยกเลิกกลางคันจาก SoftBank แม้จะไปไม่ถึงเป้าหมายในการระดมทุน ซึ่งอาจจะเป็นหนทางที่ดีกว่าในการรักษามูลค่าของบริษัทได้ แต่ก็สูญเสียโอกาสในการขยายตัวของธุรกิจ คราวนี้เรามารอติดตามข่าวสารอัพเดท WeWork กับน้องคอร์นบนเพจ Fintech Thailand กันนะจ๊ะ
Cr. Bloomberg, Yahoo Finance, The New York Times, Brand Inside
.
.
Follow us on
Line: @fintechthailand
Instagram: fintechthailand