Millenials กับ 5 พฤติกรรมในการทำงานและการใช้เงิน
ในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา คนเจน Millenial (พ.ศ. 2524 – 2539) คือกลุ่มผู้บริโภคหลักในหลายๆ ธุรกิจ บทความนี้จึงจะพูดถึง 5 พฤติกรรมของคนมิลเลนเนียล ทั้งในด้านการทำงานและการใช้เงิน
5 พฤติกรรมคน Millenials ในการทำงานและการใช้เงิน
1. มิลเลนเนียลเลือกที่จะเรียนทางออนไลน์มากกว่าการเข้าห้องเรียน
จากการสำรวจพบว่ากว่า 69% ของคนอายุระหว่าง 18 ถึง 34 ปี กล่าวว่าพวกเขาได้เรียนรู้จากเทคโนโลยีมากกว่าที่ได้จากการเรียนกับคน ในขณะที่คนอายุมากกว่า 45 ปี ที่รู้สึกแบบเดียวกันมีเพียง 50% นอกจากนี้ยังมีหลักฐานว่าคนเจน Z (กลุ่มคนที่เกิดหลังมิลเลนเนียล) มีแนวโน้มที่จะเรียนในระดับอุดมศึกษาลดลง เหตุผลส่วนใหญ่มาจากต้องการหลีกเลี่ยงการเป็นหนี้ทางการศึกษา
2. แทนที่จะปกปิดเรื่องเงินเดือน เหล่ามิลเลนเนียลมีแนวโน้มที่จะแชร์ข้อมูลส่วนนี้กับเพื่อนร่วมงาน
เรื่องเงินจะค่อยๆ กลายเป็นสิ่งที่ไม่ใช่เรื่องใหญ่
จากรายงานต่างๆ พบว่ามิลลเลนเนียลมีแนวโน้มที่จะพูดคุยเรื่องเงินเดือนกับเพื่อนร่วมงาน ครอบครัวและเพื่อน มากกว่าคนในเจนเนอเรชั่นก่อนๆ นอกจากนี้จากผลสำรวจล่าสุดของทาง Business Insider ยังพบว่า 30% ของมิลเลนเนียล (ช่วงอายุ 18 ถึง 36 ปี) กล่าวว่าพวกเขาพูดคุย ขอความคิดเห็นเรื่องเงินเดือนกับเพื่อนร่วมงาน ในขณะที่คนเจน Baby boomers (อายุ 53 ถึง 71 ปี) มีเพียง 8% เท่านั้นที่พูดคุยเรื่องเงินเดือนกับเพื่อนร่วมงาน
3. มิลเลนเนียลเลือกที่จะรอจนมีเงินสำหรับซื้อบ้านหลังใหญ่ในฝัน มากกว่าที่จะรีบซื้อบ้านหลังเล็กที่เป็นราคาเริ่มต้น
แน่นอนว่าแม้มิลเลนเนียลจะมีความคิดที่แตกต่างไปจากคนเจนก่อนๆ แต่พวกเขาก็ยังคิดเรื่องซื้อบ้าน เหมือนๆ กับคนในเจเนอเรชั่นก่อนๆ แต่พวกเขาเลือกที่จะรอจนพร้อมที่จะซื้อบ้านที่อยากได้จริงๆ มากกว่าที่จะรีบซื้อบ้านหลังแรกแค่เพราะราคาบ้านไม่สูง
4. แทนที่จะเลือกลงทุนในสินทรัพย์แบบดั้งเดิม มิลเลนเนียลกลับเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
ในช่วงอายุของมิลเลนเนียล หลายๆ คนเกิดในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี พ.ศ. 2551 (2008 financial crisis) อย่างที่ Oyedele ได้กว่าวไว้ว่ามิลเลนเนียลมี “ความทรงจำในสินทรัพย์แบบดั้งเดิมที่ย่ำแย่ อย่างการการสะสมเงินในตลาดหุ้น เพื่อจะพบว่าเงินเพื่อการเกษียณเหล่านั้น ถูกทำให้หายวับไปกับตาในวิกฤติการทางการเงิน 2008”
นั้นจึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมมิลเลนเนียลจึงสนใจที่จะลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความซับซ้อนอย่าง หุ้นกู้อนุพันธ์ ลงทุนใน venture capital และการลงทุนในหุ้นที่ไม่ได้จดทะเบียน (private equity) เป็นต้น โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้เงินมาชำระหนี้ระยะสั้น อย่างการใช้หนี้ทางการศึกษา และการลงทุนในบริษัทที่ทำประโยชน์เพื่อสังคม สองอย่างนี้คือสิ่งที่มิลเลนเนียลใช้กำหนดทิศทางในการลงทุน
5. มิลเลนเนียลต้องการ การประเมินประสิทธิภาพการทำงานอย่างสม่ำเสมอ มากกว่าการต้องรอการประเมินผลงานประจำปี
การประเมินประสิทธิภาพการทำงานประจำปีจะค่อยๆ หายไป
ตัวอย่างเช่น IBM ที่ทิ้งระบบการประเมินประจำปีมาใช้ระบบที่เรียกว่า Checkpoint ที่มีการให้ฟีดแบ็คการทำงานอย่างน้อยหนึ่งครั้งในหนึ่งไตรมาส โดยบริษัทยังมีการใช้แอพที่เรียกว่า ACE เพื่อใช้อำนวยความสะดวกให้กับพนักงานในการติดต่อประสานงานกันเองภายใน
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้ สะท้อนให้เห็นว่ามิลเลนเนียลมีความคิดเห็นอย่างไรในเรื่องของการทำงานและการประเมินประสิทธิภาพการทำงาน
จากพฤติกรรมข้างต้นของคนกลุ่มมิลเลนเนียลก็พอจะบอกกับเราได้ว่า คงไม่ใช้แค่เพียงการใช้ชีวิตที่แตกต่าง แต่ในเรื่องของการบริหารจัดการทรัพย์สินเอง เหล่าสถาบันการเงินก็จะต้องมีการปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการของคนกลุ่มมิลเลนเนียล (ที่กลายมาเป็นกำลังซื้อหลัก) อย่างแน่นอน
Cr. www.businessinsider.com, graphiccave.com