Asia Fintech Trends 2018: แนวโน้ม ’ฟินเทค’ ในเอเชีย…เรา(อาจ)จะเจออะไรบ้างในปี 2018

Fintech (Thailand) > Fintech blog  > Asia Fintech Trends 2018: แนวโน้ม ’ฟินเทค’ ในเอเชีย…เรา(อาจ)จะเจออะไรบ้างในปี 2018

Asia Fintech Trends 2018: แนวโน้ม ’ฟินเทค’ ในเอเชีย…เรา(อาจ)จะเจออะไรบ้างในปี 2018

ฟินเทคกลายเป็นเทคโนโลยีที่คนพูดถึงกันทั่วโลก คล้าย ๆ กับที่ครั้งหนึ่งเคยเกิดขึ้นกับ Big Data แต่ในบทความเราจะพูดถึงเฉพาะเทรนด์ฟินเทคในเอเชีย…อะไรบ้างที่อาจจะเกิดขึ้นในปี 2018

แนวโน้มฟินเทคประจำปี 2018…จะมีอะไรน่าจะเกิดขึ้นบ้างในเอเชีย?

1) นี่คือยุคดิจิตอล!

 

ทุกอย่างจะเคลื่อนเข้าสู่โลกออนไลน์โดยเฉพาะในเอเชีย งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า ตัวเลขการใช้งานออนไลน์จากกลุ่มผู้บริโภคจำนวนกว่า 20 ล้านคน เพิ่มขึ้นมากกว่า 50% ในปีที่ผ่านมา โดยในส่วนของฟินเทคนั้น พบว่าหนึ่งในสามของผู้ใช้งานออนไลน์มีการใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการในกลุ่มฟินเทค แค่ในจีนประเทศเดียวพบว่าตัวเลขในส่วนนี้เพิ่มขึ้นกว่า 70%  

 

2) สถาบันต่าง ๆ ตระหนักถึงความสำคัญของ FinTech มากขึ้น

 

สถาบันต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมการเงิน เริ่มหันมาให้คยามสนใจกับ FinTech กันอย่างจริงจัง พวกเขาเริ่มติดตามความเคลื่อนไหว และให้ความสนใจในสิ่งที่เทคโนโลยีอย่างฟินเทคสามารถทำได้มากขึ้น แม้ว่าในเอเชียฟินเทคจะยังคงไม่ใช่สิ่งที่พบเห็นได้บ่อยจนเป็นปกติ แต่สถาบันการเงินในเอเชียต่างก็เริ่มเปิดกว้างในการทำงานร่วมกันกับ Fintechs

 

3) ธุรกรรมทางการเงินแบบใหม่จะได้รับการยอมรับ

 

บริษัทด้านฟินเทคไม่ได้พยายามที่จะเข้ามาแทนที่สถาบันการเงินแบบเดิม เป้าหมายของพวกเขามีเพียงแค่การแก้ปัญหาให้กับคนใช้งานและช่วยเพิ่มอัตราการทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน FinTech ให้มากขึ้นเท่านั้น อย่างไรก็ตามแม้ว่า Fintech จะหมายถึงเทคโนโลยีทางการเงิน แต่ก็ยังคงเป็นธุรกิจที่ต้องมีผู้คนเข้ามาเกี่ยวข้องและกลับกัน…เกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้คน

 

การเปิดกว้างในการเข้าถึงทางการเงินแก่ผู้คน -โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดเกิดใหม่- ช่วยแก้ปัญหาบางอย่างในการทำธุรกรรมการเงินในชีวิตจริงได้ นอกจากนี้ในปี 2018 หน่วยงานที่กำกับดูแลกฎหมายจะยังคงต้องทำงานร่วมกันกับบริษัท Fintech เพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถเข้าไปสำรวจขั้นตอน และกฎระเบียบที่ซับซ้อนในกระบวนการฟินเทคได้ และในขณะเดียวกันก็รักษากฎระเบียบเดิมของพวกเขาเอาไว้เพื่อใช้สนับสนุนกระบวนการทำงานในฟินเทคต่อไป

 

4) สิงคโปร์จะกลายเป็น Hub ด้านฟินเทค

 

The Monetary Authority of Singapore (MAS) ทุ่มงบประมาณมากกว่า 2 พันล้านเหรียญฯในธุรกิจ startup ด้านฟินเทค ตัวเลขงบประมาณนี้ถูกใช้ลงทุนอย่างชัดเจนใน ห้องทดลองทางนวัตกรรม บริษัททางการเงิน และการสร้างกฎระเบียบในการควบคุมดูแลกระบวนการด้านฟินเทค เพื่อสร้างระบบนิเวศทางการเงินที่หลากหลายที่เหมาะสมสำหรับส่งเสริม Fintech ในเอเชีย

 

นอกจากนี้ MAS ยังได้สำรวจถึงการใช้เทคโนโลยีประเภท Distributed Ledger Technology (DLT) ในหลายโครงการและยังคงผลักดันให้เกิดขอบเขตที่สามารถใช้ร่วมกันกับการทำธุรกรรมผ่าน blockchain ได้อีกด้วย

 

โครงการบางส่วนที่ MAS เป็นผู้ริเริ่ม:

  • KYC Utility to streamline end-to-end KYC
  • Cross-border platform with the Hong Kong Monetary Authority (HKMA)
  • Cross-border payments with Bank of Canada using Blockchain technology
  • Collaborative R&D with Massachusetts Institute of Technology (MIT)

 

5) ICOs

 

ICO ได้กลายมาเป็นวิธีที่หลาย ๆ บริษัทเลือกใช้เพื่อเพิ่มทุน แต่เนื่องจากยังขาดระเบียบข้อบังคับที่สมบูรณ์ในการจัดการดูแล ICOs ทำให้คนส่วนใหญ่ยังคงสับสนกับวิธีการที่เหมาะสมในการดำเนินการด้าน ICO ทั้งนี้เราเชื่อว่า ICO ควรใช้โครงสร้างพื้นฐานเดียวกันกับที่บริษัทใช้ในการลงทุนออนไลน์ ซึ่งถือเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับนักลงทุน ในหลาย ๆ ประเทศมีกฎเกณฑ์เฉพาะสำหรับการชักชวนลงทุนทางออนไลน์ แต่ทั้งนี้การรับรู้การลงทุนและการเปิดเผยข้อมูลก็เป็นสิ่งที่ควรใช้ในการดำเนินการด้าน ICO

จากแนวโน้ม FinTech ข้างต้น เราอาจพอคาดคะเนได้ว่าในอนาคตอันใกล้ FinTech จะเริ่มขยับเข้ามาเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเรามากขึ้นในด้านของการทำธุรกรรมการเงินในชีวิตประจำวัน แม้ตอนนี้ FinTech ในฝั่งเอเชียจะยังคงเป็นสิ่งที่ค่อนข้างใหม่สำหรับบางประเทศ -รวมถึงประเทศไทย- ก็ตาม

 

Cr. katipult.com