A Template For Understanding Big Debt Crises By Ray Dalio : ผ่า 7 ประเด็น…สาเหตุฟองสบู่
หนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฏจักรเศรษฐกิจ เนื่องจากทั้งนโยบายการเงินและนโยบายการคลังจากสถานการณ์ที่ผ่านมาในหลายๆ ประเทศ เริ่มอัดฉีดเม็ดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งการลดอัตราดอกเบี้ยเป็นระยะๆ โครงการชิม ช็อป ใช้ เฟส 1-3 ก่อให้เกิดการกู้เงินมาลงทุนและการจับจ่ายใช้สอย กำลังซื้อมากขึ้น จึงมีเงินหมุนเวียนบนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและขยายตัวสูงขึ้น แต่เงินที่กู้ยืมมาลงทุนธุรกิจต่างๆ ไม่ได้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพพอที่จะคืน Return ให้กับ Debt ที่สร้างขึ้นได้ ดังนั้นการสะสม Debt ในระยะ Short Term ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงตามมาด้วยการเกิด Big Debt Crises ได้
และเรย์ ดาลิโอ ได้เขียนถึง สาเหตุการเกิด Debt Crises ผ่านทั้ง 7 ประเด็นด้วยกัน
- มูลค่าสินทรัพย์เทียบกับอดีต
จากการเปรียบเทียบ Shiller PE Ration ของ S&P 500 ซึ่งเป็นการใช้ Price หารด้วย EPS เฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี เพื่อวัดผลให้ครอบคลุมวัฎจักรเศรษฐกิจได้ครบรอบทั้งขาขึ้นและขาลง เมื่อดูจากกราฟพบว่าค่า Shiller PE อยู่ที่ 29.66 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยที่ 16.57 ปรากฎว่า ค่าในปัจจุบันมีมากกว่าเฉลี่ยถึง 2 เท่า โดยระดับนี้เป็นระดับเดียวก่อนเกิด Great Depression สูงกว่า Hamburger Crisis และ Black Monday ส่วนช่วงฟองสบู่ Dot-com มีค่าสูงกว่าในปัจจุบัน
- ความคาดหวังกำไรต่อหุ้นในอนาคต
จากกราฟเมื่อเทียบกันระหว่าง S&P 500 Change in forward 12 Months P/E Ratio และ S&P 500 P/E Ratio จะเห็นว่าการทำนายกำไรต่อหุ้นโดยรวม 1 ปีข้างหน้าอยู่ที่ 170 เหรียญฯ/หุ้น และกำไรต่อหุ้นในปัจจุบันอยู่ที่ 135.60 เหรียญฯ/หุ้น โดยต่ำกว่าค่าคาดการณ์ถึง 25%
จากกราฟจะเห็นว่าก่อนเกิดวิกฤตดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะมีสูง โดยดูจากเส้นกราฟก่อนบริเวณแรงเงาสีเทาซึ่งเป็นช่วงที่เกิดวิกฤต พวกเขาเหล่านั้นไม่รู้ตัวว่าจะเกิดวิกฤต และหลังจากการเกิดวิกฤตความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะลดลงอย่างรวดเร็ว หากดูปีล่าสุด Sep 2019 จะเห็นว่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ในจุดที่สูงรองจากช่วงปี 1994-2000 วิกฤตฟองสบู่ Dot-com (The dot-com bubble) ภาวะการใช้จ่ายที่สูงเกินจึงบ่งบอกภาวะฟองสบู่
ดัชนี Fear & Greed ปัจจุบัน 18 Nov 2019 ภาวะอารมณ์ความรู้สึกของนักลงทุนในตลาดมีแนวโน้มเป็นบวก เห็นว่าตลาดเป็น Bullish Market สูงถึง 83% โดยมี 7 Indicators ที่ส่งผลดังนี้ Stock Price Momentum, Stock Price Strength, Stock Price Breadth, Put and Call Options, Junk Bond Demand และ Safe Haven Demand
- ปริมาณหนี้สินของคนในประเทศ
จากกราฟปริมาณหนี้สินของคนในประเทศ มีการลงทุนและใช้จ่ายด้วยเงินกู้สูง
เมื่อเทียบ Debit Balances YoY ช่วง JUL 2010 – JUL 2019 มีปริมาณการกู้เงินลงทุนสูง การลงทุนในสินทรัพย์ความเสี่ยงต่างๆ ทั้งหุ้น บ้าน ธุรกิจ ก่อหนี้สินเพิ่มขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นตัวชี้วัดการเกิดภาวะฟองสบู่
- ลูกหนี้การค้า
ลูกหนี้การค้ามีปริมาณที่สูงขึ้นกว่า Subprime Crisis ช่วงปี 2008-2009 มากถึง 25%
- ผู้เล่นใหม่
ชาวอเมริกา Millennials เริ่มมีแนวโน้มการลงทุนลดลงเรื่อยๆ เมื่อเทียบปี 2001-2002 ชาวมิลเลนเนี่ยลมีสัดส่วนการลงทุนสูงถึง 55 % และลดลงมาในปี 2017-2018 เหลือเพียง 37%
นักลงทุนที่มีรายได้ระดับ Middle Class ลดการลงทุนช่วงปี 2001 – 2007 ในตลาดหุ้นจาก 62% เหลือเพียง 41% ในปี 2008-2018 เป็น %Change -21% พบว่าชาวมิลเลนเนี่ยลกลัวความเสี่ยงต่อการลงทุนในหุ้น แล้วเริ่มหันไปลงทุนในอสังหาฯ แทน
จากกราฟพบว่าตั้งแต่ปี 2012 คนเข้ามาลงทุนสินทรัพย์ด้านอสังหาริมทรัพย์เป็นสัดส่วน 30.35% และเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั้งปี 2018 ที่เกือบสูงขึ้นแตะ 50% ส่งผลให้ราคาอสังหาฯ พุ่งสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
จากกราฟพบว่านโยบายการเงินของสหรัฐฯ ได้ลดอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
นโยบายทางการเงินนั้นเป็นปัจจัยสำคัญ ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ถ้าหากธนาคารกลางปล่อยกู้แบบเข้มงวด โดยเงินที่ปล่อยกู้ไปนั้นต้องได้คืน 100% อาจจะเกิดการพัฒนาเพียงเล็กน้อย แต่ถ้าปล่อยกู้อย่างหละหลวม สามารถทำให้เศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตกว่าการปล่อยกู้แบบเข้มงวดก็จริง แต่ต้องยอมรับการเผชิญกับภาวะหนี้ที่ร้ายแรงได้
ดังนั้น ตัวชี้วัดทั้ง 7 ข้อของเรย์ ดาลิโอ ที่แนะนำให้เพื่อนๆ เตรียมตัวรับมือกับภาวะเศรษฐกิจ ความเสี่ยงสินทรัพย์ต่างๆ ดูแลพอร์ตอย่างสม่ำเสมอ จึงเป็นการตั้งรับที่ดีที่สุดนะครับ
จากกราฟพบว่ารัฐบาลมีการใช้นโยบายการคลัง อัดฉีดเงินในระบบเศรษฐกิจ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายมาเป็นระยะเวลายาวนาน ดังนั้นการใช้นโยบายการเงินและการคลังเพื่อกระตุ้นระบบเศรษฐกิจ อาจก่อให้เกิดวะ Inflation และเมื่อภาวะวิกฤตนี้สูงขึ้นอีกจะทำให้กลายเป็นภาวะ Hyper Inflation ส่วนประเทศที่ก่อหนี้สูงจะทำให้การแก้ปัญหาเรื่องหนี้แก้ไขได้ยาก
Cr. Medium, Alpaca Investments, Invest with Sven Carlin Ph.D Via @Youtube
.
.
Follow us on
Facebook: Fintech Thailand
Instagram: fintechthailand