The Muse: Startup ที่โดนปฏิเสธเงินทุนเป็นร้อยครั้ง สู่การระดมทุนได้เกือบพันล้าน!
จาก Startup ที่โดนปฏิเสธเงินทุนมากกว่าร้อยครั้ง สู่การเป็น Startup ที่ระดมทุนได้แตะพันล้านบาท! มารู้จักกับ The Muse และ CEO สุดเจ๋ง Kathryn Minshew
Startup มูลค่าเกือบพันล้าน “The Muse” กับการถูกปฏิเสธเงินทุนมามากกว่า 148 ครั้ง!
ก่อตั้งแต่ปี 2011 “The Muse” คือเว็บไซต์หางานและปรึกษาเรื่องงานที่มีผู้ใช้งานในปัจจุบันมากกว่า 50 ล้านราย นอกจากนี้ The Muse ยังให้บริการด้านคอร์สเรียน เพื่อการพัฒนาทักษะในการทำงานและให้คำแนะนำเกี่ยวกับอาชีพโดยผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 500 คน
แต่…ก่อนที่จะกลายมาเป็น “The Muse” startup ที่มีมูลค่าทรัพย์สินล่าสุดกว่า $30M. (~936.62 ล้านบาท) ใครจะรู้ว่า startup จากนิวยอร์กรายนี้ เคยถูกปฏิเสธเงินทุนมาแล้วกว่า 148 ครั้ง!
Kathryn Minshew, CEO “The Muse” คือ คำจำกัดความของคำว่าความพยายามในฐานะ “ผู้ก่อตั้ง” โดยแท้ หลังจากที่ The Muse ต้องพบกับความผิดหวังในการระดมทุนรอบ Round Seed จากการถูกปฏิเสธเงินทุนจากนักลงทุนมากว่า 148 ครั้ง ในฐานะ CEO เคธรินเปลี่ยนแนวคิดและปรับกลยุทธ์ในการระดมทุนของเธอใหม่
และนี่คือกลยุทธ์ของ CEO “The Muse” ที่พลิกสถานการณ์จาก startup ที่ถูกปฏิเสธให้กลายมาเป็น startup ที่ระดมทุนได้เกือบพันล้าน
จำกัดนัด Meeting กับนักลงทุนทุกรายให้ใช้เวลาไม่เกิน 3 อาทิตย์
ก่อนหน้านี้ CEO ของ The Muse ใช้วิธีนัด Meeting กับนักลงทุนแบบยึดเอาเวลาที่ทางคู่เจรจาสะดวก แต่กลยุทธ์ใหม่คือ เธอนัดนักลงทุนแบบใช้การกำหนดช่วงเวลาที่แน่นอน ซึ่งหากทางคู่เจรจาตอบกลับมาว่าไม่สะดวกในเวลานั้น ๆ สิ่งที่ CEO “The Muse” ตอบกลับไปก็คือ
“ฉันต้องการให้การนัดเจรจาครั้งแรกของเราเสร็จสิ้นภายในวันที่… ซึ่งฉันอาจจะยืดเวลาออกไปได้อีกเล็กน้อย แต่หากคุณยังไม่สะดวกในช่วงเวลานั้นก็ไม่เป็นไร คุณอาจจะเปลี่ยนไปเข้าร่วมในรอบการระดมทุนครั้งหน้าแทน”
สำหรับ CEO ของ The Muse กลยุทธ์นี้ทำให้นักลงทุนที่สนใจส่วนใหญ่พยายามหาเวลาเพื่อเข้า meeting ให้ได้ แต่หากนักลงทุนรายไหนยังคงตอบว่า “ไม่สะดวก” นั้นอาจหมายความว่าพวกเขาไม่ได้สนใจที่จะร่วมลงทุนกับบริษัทตั้งแต่แรกแล้ว
รับฟังความคิดเห็นที่ตรงไปตรงมาจากผู้ใช้งานจริง ๆ
วิธีนี้ช่วยให้เคธรินมั่นใจในธุรกิจและแนวคิดของตัวเองว่ามาถูกทาง เป็นความจริงที่ว่าเมื่อคุณพูดว่าคุณเป็นเจ้าของธุรกิจ ฟีดแบ็คที่ได้จากคนที่คุณถามมักจะเป็นสิ่งดี ๆ เพื่อรักษาน้ำใจ แต่ในความเป็นจริงแล้วคุณควรรู้ทั้งด้านดีและข้อเสียของธุรกิจ
การรู้ข้อเสียของธุรกิจของคุณจะเป็นประโยชน์อย่างมากในตอนเจรจากับนักลงทุน เพราะเมื่อพวกเขาถามถึงข้อเสียที่มีหากคุณรู้อยู่ก่อนแล้วและมีวิธีรับมือกับมัน นั้นจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับคู่เจรจาหากพวกเขาเลือกที่จะลงทุนกับคุณ ในขณะเดียวกันการรู้จักธุรกิจผานผู้ใช้งานจริง ๆ จะช่วยให้คุณมั่นใจในการพูดถึงธุรกิจของตัวเองอย่างถูกต้อง ซึ่งนั้นหมายรวมถึงความมั่นใจจากนักลงทุนที่จะมีต่อธุรกิจของคุณ
และนี่ก็คือแนวคิดจาก CEO ของบริษัท startup ที่จุดเริ่มต้นต้องบอกว่าไม่สวยหรูเลย แต่เป็นอีกครั้งที่โลกธุรกิจสอนให้เรารู้ว่า ไม่ใช่แค่ธุรกิจของคุณต้องเจ๋งแต่แนวคิดของผู้บริหารก็ต้องเจ๋งพอที่จะกล้าเปลี่ยนและเสี่ยงด้วยวิธีใหม่ ๆ เช่นกัน
Cr. businessinsider.com