10 ธุรกิจล้มดังเจ็บนาน…ตลอดกาล
ในโลกธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เป็นเรื่องปกติที่จะมีบางธุรกิจล้มละลายและหายไปจากวงการ แต่การล้มละลายธรรมดาคงไม่น่าจดจำ ต้องพวกที่ล้มดัง…เจ็บนานนน ที่เราจัดมาให้อ่านกันในบทความนี้
10 ธุรกิจที่ล้มดัง…เจ็บนาน
10. Chrysler (2557)
ไครสเลอร์ปิดมหากาพย์การล้มละลายที่แสนยาวนานลงในช่วงต้นปี 2557 โดยการชำระเงินที่ค้างชำระงวดสุดท้ายให้กับ United Auto Workers หลังจากที่ได้ชำระเงินคืนให้กับรัฐบาลสหรัฐฯ ไปแล้วก่อนหน้านี้ห้าปีในช่วงต้นปี 2554 ไครสเลอร์มีสินทรัพย์ตอนล้มละลายทั้งสิ้น $39.3 พันล้านดอลลาร์ (~1.3 ล้านล้านบาท)
9. MF Global Holdings (2552)
MF Global Holdings Ltd พังทลายลงในปี 2552 หลังจากนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์บริหารเงินมูลค่ากว่า $6.3 พันล้านดอลลาร์ (2 แสนล้านบาท) ผิดพลาดในวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป จนทำให้ MF Global ขาดทุนเป็นเงินก้อนโต และในที่สุดบริษัทก็ล้มละลายขณะมีทรัพย์สินรวมทั้งสิน $40.5 พันล้านดอลลาร์ (~1.35 ล้านล้านบาท)
8. Energy Future Holdings (2557)
Energy Future Holdings Corp. ยื่นฟ้องล้มละลายในปี 2557 หลังจากที่บริษัทยักษ์ใหญ่แห่งนี้ไม่สามารถจ่ายเงินค่าดำเนินการในธุรกิจก๊าซธรรมชาติได้ บริษัทมีสินทรัพย์ขณะล้มละลายทั้งสิ้น $40.9 พันล้านดอลลาร์ (~1.36 ล้านล้านบาท)
7. Conseco (2545)
หลายๆปัญหาของ Conseco เกิดจากการแนะนำที่ผิดพลาดของที่ปรึกษาทางธุรกิจ หนึ่งในนั้นคือการลงเงินไปในกิจการบ้านเคลื่อนที่ผ่านทางบริษัทการเงินอย่าง Green Tea Financial ในปี 2541 บริษัทประกันภัยแห่งนี้มีทรัพย์สินขณะล้มละลายทั้งสิ้น $61.4 พันล้านดอลลาร์ (~2 ล้านล้านบาท)
6. Enron (2544)
การฉ้อโกงที่รุนแรงในบริษัทค้าพลังงานแห่งนี้ นำไปสู่ราคาหุ้นที่ดิ่งลงเหวและตกต่ำอย่างน่าใจหายของ Enron ซึ่งถึงขั้นนำพาบริษัทไปสู่การล้มละลายในภายหลัง บริษัทมีสินทรัพย์ขณะล้มละลายทั้งสิ้น $65.5 พันล้านดอลลาร์ (~2.2 ล้านล้านบาท)
5. CIT Group (2552)
หลายศตวรรษของการดำเนินงาน ในที่สุด CIT Group Inc. ก็ยื่นคำร้องขอล้มละลาย เมื่อบริษัทไม่สามารถหาแหล่งเงินทุนได้ทันในช่วงวิกฤตสินเชื่อปี 2552 บริษัทสินเชื่อนี้มีทรัพย์สินมูลค่ากว่า $80.4 พันล้านดอลลาร์ (~2.7 ล้านล้านบาท) ในขณะล้มละลาย
4. General Motors (2552)
บริษัท เจเนอรัลมอเตอร์ส หรือ GM ล้มละลายในปี 2552 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อกำหนดในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินของรัฐบาลจากปัญหาหนี้สินที่รุมเร้า ในขณะล้มละลาย GM มีทรัพย์สินมูลค่ากว่า $91 พันล้านดอลลาร์ (~ 3 ล้านล้านบาท)
3. WorldCom (2545)
หลังจากที่มีการฉ้อโกงทางบัญชีเกือบ $4 พันล้านดอลลาร์ (~ 1 แสนล้านบาท) ผู้ประกอบการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ที่สุดของโลก และบริษัทโทรศัพท์ทางไกลรายใหญ่อันดับสองก็ยื่นขอล้มละลายลงในปี 2545 WorldCom มีทรัพย์สินมูลค่ากว่า $103.9 พันล้านดอลลาร์ (~3.5 ล้านล้านบาท) ขณะล้มละลาย
2. Washington Mutual (2551)
หนึ่งในความล้มเหลวที่น่าตกใจที่สุดของวิกฤตการณ์ทางการเงินปี 2551-2552 คือการที่ Washington Mutual มีมูลค่าการถอนเงินออกในระยะเวลาเพียง 9 วัน เป็นจำนวนเงินสูงถึง $16.7 พันล้านดอลลาร์ (~5.6 แสนล้านบาท) ทำให้ธนาคารขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างหนัก จนถึงขั้นล้มละลายลงขณะที่บริษัทมีทรัพย์สินมูลค่ากว่า $327.9 พันล้านดอลลาร์ (~11 ล้านล้านบาท) ในมือ
1. Lehman Brothers Holdings (2551)
และประวัติศาสตร์การล้มละลายที่ดังที่สุดและเจ็บนานตลอดกาลก็ตกเป็นของ Lehman Brothers ธนาคารเพื่อการลงทุน และไม่ใช่แค่การล้มละลายที่ใหญ่ที่สุดตลอดกาลเท่านั้น แต่มันยังเป็นเหมือนกับสัญลักษณ์ของวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2008 อีกด้วย Lehman Brothers มีสินทรัพย์มูลค่าสูงถึง $691.1 พันล้านดอลลาร์ (~23 ล้านล้านบาท) ในขณะที่ล้มละลาย
อ่านมาถึงตรงนี้เราเชื่อว่า เหตุการณ์การล้มละลายในอดีตเหล่านี้คงไม่ใช่สิ่งที่ใครหลายคนอยากพบเจอ แต่เราก็ปฏิเสธอีกไม่ได้เช่นกันว่า ในทางกลับกันมันก็ได้สอนอะไรหลายๆอย่างให้กับนักธุรกิจรุ่นหลัง…ให้อย่างน้อยก็ไม่เลือกบริหารผิดทางอย่างในอดีต
Cr. finance.yahoo.com, star-telegram.com, en.people.cn, twt-thumbs.washtimes.com, silverdoctors.com